กู่น้อย

 

กู่น้อย

 

ที่ตั้ง ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ประวัติ
ปราสาทกู่น้อย ตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของกลุ่มโบราณสถานในเขตเมืองโบราณจัมปาศรี มีแผนผังประกอบไปด้วย กำแพงศิลาแลงล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีซุ้มประตูโคปุระรูปกากบาท

ด้านหน้าทางทิศตะวันอกและด้านหลังทางทิศตะวันตก มีปีกกายื่นออกไปทั้งสองข้าง ด้านนอกกำแพงมีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปตัวU ประกบกัน โดยเว้นช่องทางเข้าที่ตรงกลางด้านหน้าและด้านหลังเป็นทางเดิน
 


ลักษณะเด่นของปราสาทกู่น้อยคือ
เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมปราสาทเขมรที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานของ "เสาไม้" ปักติดอยู่บนฐานหินศิลาแลงที่เจาะเป็นรูช่อง แสดงให้เห็นว่า อาคารที่สร้างขึ้นบนฐานซุ้มประตูโคปุระและอาคารบนฐานศิลาแลงที่ติดอยู่กับปราสาทประธาน มีโครงสร้างเป็นเรือนเครื่องไม้ขนาดใหญ่ ปราสาทประธานของปราสาทกู่น้อย สร้างขึ้นจากหินทรายแดงผสมหินศิลาแลง

 


ยังปรากฎบัวเชิงเรือนธาตุที่แสดงให้เห็นว่า เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ทรงศิขระ(ลดหลั่น) ตั้งอยู่บนฐานบัวไพที่เดียวกับอาคารเรือนเครื่องไม้ทางด้านทิศเหนือ ที่อาจใช้เป็นอาคารประกอบพิธีกรรม

รูปแบบการเลือกใช้วัสดุหินเพื่อใช้เป็นโครงสร้างปราสาทที่ปราสาทกู่น้อยนี้ มีการเลือกหินทรายสีแดงเป็นวัสดุหลัก คล้ายกับที่พบในการสร้างระเบียงคดของปราสาทหินพิมาย ซึ่งการใช้หินทรายแดงที่เป็นหินทรายคุณภาพต่ำ มีการสึกกร่อนเปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าหินทรายชนิดอื่นๆ ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่อาจทำให้ปราสาทประธานของกู่น้อยพังทลายลงมาอย่างยากที่จะซ่อมแซมขึ้นไปใหม่ในยุคหลัง
 



จากการขุดค้นทางโบรารคดีที่ปราสาทกู่น้อย ยังได้พบรูปประติมากรรมรูปเทพทวารบาล(นนทิเกศวร) ประติมากรรมรูปพระพิษณุ เศียรทวารบาล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ีที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นด้วย
 

 เทวรูปที่ได้จากการขุดแต่งกู่น้อย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น

 

  เทวรูปที่ได้จากการขุดแต่งกู่น้อย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น

 

 เทวรูปที่ได้จากการขุดแต่งกู่น้อย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น



อายุสมัย
เมื่อพิจารณาจากแผนผังของอาคารแล้วสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะขอมแบบนครวัด ราวพุทธศตวรรษที่ 7

ประโยชน์ใช้สอย
สันนิษฐานว่าเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูน

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.
ศ.2478 และประกาศของเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 19 ตอนที่ 172 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 พื้นที่ 8 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา


  รอบรั้วพระธาตุนาดูน  
  หน้าแรก คณะกรรมการ
  ข่าวทั้งหมด หน่วยงานภายนอก
  ประวัติพระธาตุนาดูน พระกรุนาดูน/จดหมายเหตุ
  ดาวน์โหลดไฟล์ ข้อมูลการติดต่อ
  หนังสืออิเลคทรอนิกส์
  กองทุนพัฒนาและอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูน ตำบล พระธาตุ อำเภอ นาดูน มหาสารคาม 44180